ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ 

เป็นพืชพื้นเมืองแถบทวีปแอฟริกา เป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น ดังนั้นจึงมีการขยายการปลูกไปในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนทั่วไป เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบเดี่ยว เรียงเวียนใกล้พื้นดิน รูปใบหอก ยาว ขอบใบเป็นหนามแหลม เนื้อใบอวบน้ำเป็นวุ้นใส มียาง ดอกออกเป็นช่อยาว แทงขึ้นจากโคนต้น ว่านหางจระเข้มีบทบาทอย่างมากในการผลิตเครื่องสำอาง ความงาม และตั้งแต่โบราณกาลแล้ว สมัยอียิปต์  โรมัน อาหรับ อินเดียและจีน ประเทศเหล่านี้รู้จักการนำว่านหางจระเข้มาปลูกเพื่อนำยางจากใบมาทำเป็นยาดำ และเรียนรู้ด้วยว่าจะต้องปลูกในบริเวณที่ติดทะเล จึงจะให้ปริมาณยางสูง ว่านหางจระเข้ที่นำมาใช้ประโยชน์นั้น แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ


ส่วนที่ 1 ส่วนที่เป็นวุ้น รสเย็น เมื่อปอกเปลือกข้างในจะเป็นวุ้น ทาหรือฝานบางๆปิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันแสงแดด รักษาสิวฝ้าและรอยแผลเป็น โดยเรียกเนื้อให้เต็ม ไม่ทำให้เกิดรอยแผลเป็น คุณสมบัติเหล่านี้เองที่ว่านหางจระเข้มักจะใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่ใช้บำรุงรักษาผิว หรือจะนำมา

รับประทานแก้โรคกระเพาะ บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน ก็ได้ ทั้งนี้ต้องล้างยางสีเหลืองออกให้หมด

ส่วนที่ 2 ยางสีเหลืองจากใบ มักนิยมเลือกว่านหางจระเข้สายพันธ์ที่มีกาบใหญ่ โดยการทำให้แห้งเป็นก้อน ลักษณะสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ ผิวเงามันวาว เรียกว่า ยาดำ กลิ่นเหม็น รสขมจัด มักนำมาเข้าตำรับยาแผนไทยเพื่อใช้เป็นยาระบาย

ก่อนจะนำยาดำไปใช้ทำยา ต้องนำไป สะตุ” ก่อน เพื่อทำให้ยาสะอาดขึ้น และทำให้ตัวยามีฤทธิ์อ่อนลง เนื่องจากยาดำนี้หากรับประทานมากเกินไป จะทำให้ท้องเสีย และปวดท้องอย่างรุนแรง เพราะลำไส้บิดเกร็งตัว จนมีอาการอ่อนเพลีย ไตอักเสบ และมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ฉะนั้นจึงห้ามใช้กับผู้ที่เป็นริดสีดวงทวาร และหญิงมีครรภ์ เพราะอาจทำให้แท้งได้

วิธีการสะตุยาดำ คือ นำยาดำไปตำให้แตกเป็นก้อนเล็กๆ จากนั้นนำยาดำใส่ในหม้อดิน เติมน้ำเล็กน้อย ยกหม้อดินตั้งไฟบนเตาถ่าน สังเกตจนกว่าจะมีควันสีเหลือง และเมื่อครันหมด ลองใช้ปลายมีดจิ้มดูจะกรอบๆ ก็เป็นอันใช้ได้ จนยาดำนั้นกรอบดีแล้ว ใช้ตะหลิวตักขึ้นทึ้งไว้ให้เย็น เก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อไว้ทำยาต่อไป ยาดำที่ผ่านการสะตุจะมีความเงาลดลง และน้ำหนักเบา

ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ที่มียาดำแทรกอยู่ในตำรับ ได้แก่


ยามหาจักรใหญ่  สรรพคุณ แก้ลมทราง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
วัตถุส่วนประกอบ โกฐสอ โกฐเขมา โกฐพุงปลา โกฐก้านพร้าว โกฐกระดูก เทียนดำ

เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนเยาวพาณี สมอไทย (เอาแต่เนื้อ) สมอพิเภก (เอาแต่เนื้อ) มะขามป้อม (เอาแต่เนื้อ) ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู ชะเอมเทศ เมล็ดโหระพา

ลูกผักชีลา สารส้ม ขมิ้นอ้อย หัวกระเทียม หนักสิ่งละ ๑ ส่วน ยาดำสะตุ หนัก ๔ ส่วน ใบกระพังโหม
หนัก ๓๐ ส่วน
วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๕ กรัม
สรรพคุณ แก้ลมทราง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
ขนาดรับประทาน รับประทานกับน้ำสุกก่อนอาหาร เช้า - เย็น
เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี รับประทานครั้งละ ๑ - ๓ เม็ด เพิ่มและลดได้ตามส่วน
ขนาดบรรจุ ไม่เกิน ๒๐ เม็ด

ยาธรณีสันฑะฆาต สรรพคุณ แก้กษัยเส้น เถาดาน ท้องผูก  
วัตถุส่วนประกอบ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู เทียนดำ เทียนขาว

หัวดองดึง หัวบุก หัวกลอย หัวกระดาดขาว หัวกระดาดแดง ลูกเร่ว ขิง ชะเอมเทศ รากเจตมูลเพลิงแดง
โกฐกระดูก โกฐเขมา โกฐน้ำเต้า หนักสิ่งละ ๑ ส่วน ผักแพวแดง เนื้อลูกมะขามป้อม หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
เนื้อลูกสมอไทย มหาหิงคุ์ การบูร หนักสิ่งละ ๖ ส่วน รงทอง (ประสะแล้ว) หนัก ๔ ส่วน ยาดำ
หนัก ๒๐ ส่วน พริกไทยล่อน หนัก ๙๖ ส่วน
วิธีทำ ชนิดผง บดเป็นผง
ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒๕ กรัม
ชนิดแคปซูล บดเป็นผง บรรจุผงยาแคปซูลละ ๐.๒๕ กรัม
สรรพคุณ แก้กษัยเส้น เถาดาน ท้องผูก
ขนาดรับประทาน รับประทาน วันละ ๑ ครั้ง ก่อนอาหารเช้าหรือก่อนนอน
ชนิดผง ผู้ใหญ่ ครั้งละ ครึ่ง - ๑ ช้อนชา ละลายน้ำสุก หรือผสม
น้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน
ชนิดเม็ด ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๒ - ๔ เม็ด
ชนิดแคปซูล ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๒ - ๔ แคปซูล
คำเตือน ๑ คนเป็นไข้ เด็กหรือสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน
              ๒ ผู้สูงอายุควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
ขนาดบรรจุ ชนิดผง ไม่เกิน ๑๕ กรัม
ชนิดเม็ด ไม่เกิน ๖๐ เม็ด
ชนิดแคปซูล ไม่เกิน ๖๐ แคปซูล

ยาถ่าย สรรพคุณ แก้ท้องผูก
วัตถุส่วนประกอบ ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไทร ใบไผ่ป่า ฝักคูน รากขี้กาแดง

รากขี้กาขาว รากตองแตก เถาวัลย์เปรียง หัวหอม ฝักส้มป่อย สมอไทย สมอดีงู หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
ขี้เหล็กทั้ง ๕ หนัก ๑ ส่วน ยาดำ หนัก ๔ ส่วน ดีเกลือฝรั่ง หนัก ๒๐ ส่วน
วิธีทำ ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๕ กรัม
ชนิดแคปซูล บดเป็นผง บรรจุผงยาแคปซูลละ ๐.๕ กรัม
สรรพคุณ แก้ท้องผูก
ขนาดรับประทาน รับประทาน วันละ ๑ ครั้ง ก่อนนอน
ชนิดเม็ด ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๒ - ๕ เม็ด ตามธาตุหนักธาตุเบา
ชนิดแคปซูล ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๒ - ๕ แคปซูล ตามธาตุหนักธาตุเบา
ขนาดบรรจุ ชนิดเม็ด ไม่เกิน ๑๐ เม็ด
ชนิดแคปซูล ไม่เกิน ๑๐ แคปซูล

เอกสารอ้างอิง
1.ชยันต์ พิเชียรสุนทรและวิเชียร จีรวงส์. (2556). คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 2 เครื่องยาพฤกษวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
2. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช . (2555). เอกสารการสอนชุดวิชาเภสัชกรรมแผนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1.
นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
3. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช . (2558). เอกสารการสอนชุดวิชาเภสัชกรรมแผนไทย 2. พิมพ์ครั้งที่ 1.
นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
4. กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม.
5.ฐาปวีส์ คงสุข. (2543). สมุนไพรให้ความงาม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด.
6. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์. (ออนไลน์).แหล่งที่มา :
เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2563
7.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.ยาสามัญประจำบ้านแผบโบราณ พ.ศ 2556.(ออนไลน์).แหล่งที่มา :
เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2563
8.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2557.(ออนไลน์).แหล่งที่มา :
เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2563
9.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ (ฉบับที่ 3) พ.ศ 2562.(ออนไลน์).แหล่งที่มา :
เข้าถึงเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2563

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การปักชำ ชาฮกเกี้ยน หรือ ชาดัด เพื่อปลูกเป็นแนวรั้ว

ปักชำ ชาฮกเกี้ยน เพื่อปลูกเป็นแนวรั้ว       ชาฺฮกเกี้ยน หรือบางคนเรียกว่า ชาดัด เข้าใจว่าเป็นเพราะนิยมนำมาดัดเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปสัตว์ต่างๆ และยังนิยมนำมาปลูกเป็นแนวรั้วด้วย และตามเกาะกลางถนนทั่วไป ตัดแต่งเป็นเหลี่ยม ขั้นบันได ดูแล้วก็สวยดี                วันนี้จะมาพูดถึง วิธีการชำ ชาดัด หรือ ชาฮกเกี้ยน ตั้งใจจะปักชำมาหลายวัน โดยเตรียมแก้วกาแฟพลาสติกที่ได้จากที่เพื่อนๆพี่ๆน้อง หลานๆ กินกาแฟแล้วช่วยกันเก็บมาให้ เป็นการ reuse พลาสติก โดยครั้งนี้ ปักชำประมาณ 50 ต้น           วิธีการปักชำ ชาฮกเกี้ยน หรือ ชาดัด ใช้วิธีการชำด้วยกะปิ   ไม่ใช้สารเคมี โดยนำกิ่งชาที่ตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 15-20 ซม. มาแช่ในน้ำที่ละลายกะปิก่อน แช่ไม่นานนะคะ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง         จากนั้น นำกิ่งชาดัดที่แช่น้ำกะปิแล้ว มาปักลงแก้วกาแฟพลาสติกซึ่งใส่แกลบดำไว้เรียบร้อยแล้ว โดยรดน้ำเพื่อให้แกลบยุบตัวก่อน        หลังจากปักลงแก้วแล้ว ควรรดน้ำให้ชุ่ม นำใส่ถุงพลาสติกคลุม ...

ฟักข้าว (Gac Fruit)

     ฟักข้าว เป็นไม้เถาเลื้อย มีที่เกาะเกี่ยวคล้ายตำลึง แต่มีขนาดใหญ่ มีใบใหญ่ ยอดฟักข้าวนำมาผัดน้ำมันอร่อยมากคะ ลูกฟักข้าว ยังไม่แก่จัดจะเป็นสีเหลือง ผลอ่อนสีจะ กลืนไปกับใบ มองไม่ค่อยเห็น                             ผลอ่อน นำมาแกงส้ม รสชาดคล้ายๆมะละกอดิบหรือน้ำเต้า ลูกสีส้มแดง เป็นผลที่แก่จัด แกงส้มฟักข้าวอ่อน นำเยื่อหุ้มเมล็ดผลที่แก่จัดมาหุงข้าว ผลแก่นั้นมีสีสันสวยงาม สี ส้มแดง สามารถนำเยื่อหุ้มเมล็ดมาหุงข้าว ได้ สีสันน่ารับประทาน และน่าจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการทานเยื่อหุ้มเมล็ด  ซึ่งจากการค้นหาข้อมูล เยื่อเมล็ดฟักข้าว มีปริมาณ บีตาแคโรทีนมากกว่าแครอต 10 เท่า และมีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 70 เท่า  ไลโคพีนได้รับการพิสูจน์จากวงการแพทย์ว่ามีผลลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร  เนื่องจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีไลโคพีน มากกว่าผลไม้อื่นๆ ทุ...

แปลงปลูกผัก สำหรับผู้ที่มีเนื้อที่น้อย แต่รักที่จะปลูก..

                                  รูป 1. กว้าง 42 ซม. ยาว 1.80 ม. สูง 1.95 ม.      หลังจากที่ได้ศึกษาข้อมูลทางเกษตรมาหลายเดือน ทดลองปลูกผักหลายอย่าง รวมทั้งไม้ดอก เพาะกล้าไม้ยินต้น ลองผิดลองถูกกับเนื้อที่บนระเบียงอันน้อยนิด แถมยังต้องมีเนื้อที่ข้างล่างวางถังน้ำหมักชีวภาพอีกหลายๆ สูตร หลายถัง ก็ทำกันไปด๊าย.. :)      ก็พยายามที่จะทำแปลงผัก ที่สามารถปลูกผักที่ต้องอาศัยค้างได้ เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วพู แตงกวา เป็นต้น คิดแล้วก็ได้รูปแบบออกมาอย่างในรูป โดยอุปกรณ์ที่ใช้ทำจากไม้ไผ่ และบุด้วยถุงกระสอบ จากรูป1. แปลงนี้ กว้าง 42 ซม. ยาว 1.80 ม. สูง 1.95 ม. แปลงนี้ทำใช้เองบนระเบียงไม้ชั้น 2                                  ...