ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การอยู่ไฟหลังคลอด องค์ความรู้ที่อยู่คู่สังคมไทยมานาน

เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า อยู่ไฟหลังคลอด มาจากผู้ใหญ่ในบ้านกันมาบ้างใช่ไหมคะ 

การอยู่ไฟเป็นองค์ความรู้ที่อยู่คู่สังคมไทยมานานตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมีความเชื่อกันว่า การอยู่ไฟหลังคลอดจะช่วยปรับสมดุลธาตุ ทำให้เลือดลมไหลเวียน ฟื้นฟูร่างกายคุณแม่ให้กลับมาเป็นปกติค่ะ

ทับหม้อเกลือ


ทำไมต้องมีการอยู่ไฟหลังคลอด

คุณแม่หลายท่านคงประสบปัญหาหลังคลอดแล้วมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ผิวพรรณหมองคล้ำ หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน กันมาบ้าง  ในบางรายอาจมีอาการสะบัดร้อนสะท้านหนาว คือ  มีอาการเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวอยู่บ่อยๆ ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้ในคุณแม่หลังคลอดค่ะ

การอยู่ไฟหลังคลอด จะเป็นการใช้ความร้อนและสรรพคุณจากสมุนไพรในการช่วยปรับสมดุลธาตุ ฟื้นฟูร่างกาย คลายเส้นคลายกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งมาตั้งแต่ตอนอุ้มท้อง บรรเทาอาการปวดเมื่อย ช่วยทำให้หน้าท้องยุบเร็ว ผิวพรรณผ่องใส ลดรอยด่างดำตามข้อพับต่างๆ และที่สำคัญคือ ช่วยทำให้น้ำนมไหลได้มากขึ้น จะเห็นได้ว่า การอยู่ไฟหลังคลอดนั้นเป็นผลดีต่อร่างกายคุณแม่มากๆ เลย

ขั้นตอนการอยู่ไฟหลังคลอด

1.       การนวดเพื่อคลายกล้ามเนื้อ เป็นการนวดไล่ไปตามแนวเส้นของร่างกาย เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยของคุณแม่หลังคลอด นอกจากนี้อาจมีการนวดกระตุ้นเปิดท่อน้ำนม เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมออกมาได้สะดวกมากขึ้น ทั้งนี้แนะนำให้กระทำโดยผู้เชี่ยวชาญนะคะ เนื่องจากหากไม่รู้วิธีนวดที่ถูกต้องอาจทำให้เต้านมอักเสบได้

นวดคลายกล้ามเนื้อ


2.       การประคบยาสมุนไพร เป็นการใช้ลูกประคบร้อนมาประคบให้ทั่วร่างกาย มีการประคบบริเวณเต้านม เพื่อช่วยกระตุ้นเลือดลม ทำให้น้ำนมไหลออกมากขึ้น


ประคบสมุนไพร

3.       การทับหม้อเกลือ  เป็นการนำเกลือตัวผู้ใส่ลงใน หม้อดิน ขนาดเล็ก นำไปตั้งไฟให้ร้อนจนเกลือสุก ห่อด้วยสมุนไพร เช่น ไพล ว่านนางคำ ขมิ้นอ้อย ใบพลับพลึง  แล้วนำมาทับบริเวณหน้าท้อง หัวหน่าว และ ตามร่างกาย การทับหม้อเกลือช่วยปรับสมดุลธาตุในร่างกาย ทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น

หม้อดิน หรือ หม้อทะนน

หม้อเกลือ

4.       การอบสมุนไพร  เป็นการนำสมุนไพรต่างๆ เช่น ใบมะกรูด ใบมะนาว ใบมะขาม ใบส้มป่อย ตะไคร้ ว่านน้ำ ผักบุ้งแดง เป็นต้น มาต้มในหม้อให้เดือด ค่อยๆ แย้มฝาหม้อรมไอให้ทั่วในกระโจม จากนั้นจึงเข้าอบในกระโจม แบ่งเป็น 2 รอบ ใช้เวลารอบละประมาณ 10-15 นาที การอบสมุนไพรช่วยเปิดรูขุมขน ทำให้ร่างกายขับของเสียออกมาทางเหงื่อ ช่วยผ่อนคลาย ลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้ดี

     5.   การอาบน้ำสมุนไพร เป็นการใช้น้ำสมุนไพรจากหม้ออบสมุนไพรมาผสมน้ำ ใช้อาบชำระร่างกาย

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการอยู่ไฟหลังคลอด

1.       คุณแม่ที่คลอดเองโดยวิธีธรรมชาติ สามารถอยู่ไฟได้หลังจากวันคลอดประมาณ 7 วัน ส่วนคุณแม่ที่ผ่าคลอด ควรเว้นระยะรอให้แผลผ่าแห้งสนิทก่อน โดยทั่วไปคือประมาณ 1 เดือนหลังคลอด

    2.   การอยู่ไฟหลังคลอดเป็นการปรับสมดุลของธาตุ จึงต้องใช้เวลาเพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูตนเอง การอยู่ไฟน้อยเกินไปอาจทำให้ประสิทธิผลไม่ดีเท่าที่ควร ระยะเวลาอยู่ไฟหลังคลอดที่แนะนำคือ อย่างน้อย 5 วันค่ะ 

 เอกสารอ้างอิง

1. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาการผดุงครรภ์.  (กองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ)

2. รูปภาพจาก น้องแพร ,  www.pixabay.com และ www.pexels.com . เข้าถึงเมื่อ 15 มค. 2564.

เรียบเรียงโดย ทีมแพทย์แผนไทย  handout2009

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การปักชำ ชาฮกเกี้ยน หรือ ชาดัด เพื่อปลูกเป็นแนวรั้ว

ปักชำ ชาฮกเกี้ยน เพื่อปลูกเป็นแนวรั้ว       ชาฺฮกเกี้ยน หรือบางคนเรียกว่า ชาดัด เข้าใจว่าเป็นเพราะนิยมนำมาดัดเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปสัตว์ต่างๆ และยังนิยมนำมาปลูกเป็นแนวรั้วด้วย และตามเกาะกลางถนนทั่วไป ตัดแต่งเป็นเหลี่ยม ขั้นบันได ดูแล้วก็สวยดี                วันนี้จะมาพูดถึง วิธีการชำ ชาดัด หรือ ชาฮกเกี้ยน ตั้งใจจะปักชำมาหลายวัน โดยเตรียมแก้วกาแฟพลาสติกที่ได้จากที่เพื่อนๆพี่ๆน้อง หลานๆ กินกาแฟแล้วช่วยกันเก็บมาให้ เป็นการ reuse พลาสติก โดยครั้งนี้ ปักชำประมาณ 50 ต้น           วิธีการปักชำ ชาฮกเกี้ยน หรือ ชาดัด ใช้วิธีการชำด้วยกะปิ   ไม่ใช้สารเคมี โดยนำกิ่งชาที่ตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 15-20 ซม. มาแช่ในน้ำที่ละลายกะปิก่อน แช่ไม่นานนะคะ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง         จากนั้น นำกิ่งชาดัดที่แช่น้ำกะปิแล้ว มาปักลงแก้วกาแฟพลาสติกซึ่งใส่แกลบดำไว้เรียบร้อยแล้ว โดยรดน้ำเพื่อให้แกลบยุบตัวก่อน        หลังจากปักลงแก้วแล้ว ควรรดน้ำให้ชุ่ม นำใส่ถุงพลาสติกคลุม ...

ฟักข้าว (Gac Fruit)

     ฟักข้าว เป็นไม้เถาเลื้อย มีที่เกาะเกี่ยวคล้ายตำลึง แต่มีขนาดใหญ่ มีใบใหญ่ ยอดฟักข้าวนำมาผัดน้ำมันอร่อยมากคะ ลูกฟักข้าว ยังไม่แก่จัดจะเป็นสีเหลือง ผลอ่อนสีจะ กลืนไปกับใบ มองไม่ค่อยเห็น                             ผลอ่อน นำมาแกงส้ม รสชาดคล้ายๆมะละกอดิบหรือน้ำเต้า ลูกสีส้มแดง เป็นผลที่แก่จัด แกงส้มฟักข้าวอ่อน นำเยื่อหุ้มเมล็ดผลที่แก่จัดมาหุงข้าว ผลแก่นั้นมีสีสันสวยงาม สี ส้มแดง สามารถนำเยื่อหุ้มเมล็ดมาหุงข้าว ได้ สีสันน่ารับประทาน และน่าจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการทานเยื่อหุ้มเมล็ด  ซึ่งจากการค้นหาข้อมูล เยื่อเมล็ดฟักข้าว มีปริมาณ บีตาแคโรทีนมากกว่าแครอต 10 เท่า และมีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 70 เท่า  ไลโคพีนได้รับการพิสูจน์จากวงการแพทย์ว่ามีผลลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร  เนื่องจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีไลโคพีน มากกว่าผลไม้อื่นๆ ทุ...

แปลงปลูกผัก สำหรับผู้ที่มีเนื้อที่น้อย แต่รักที่จะปลูก..

                                  รูป 1. กว้าง 42 ซม. ยาว 1.80 ม. สูง 1.95 ม.      หลังจากที่ได้ศึกษาข้อมูลทางเกษตรมาหลายเดือน ทดลองปลูกผักหลายอย่าง รวมทั้งไม้ดอก เพาะกล้าไม้ยินต้น ลองผิดลองถูกกับเนื้อที่บนระเบียงอันน้อยนิด แถมยังต้องมีเนื้อที่ข้างล่างวางถังน้ำหมักชีวภาพอีกหลายๆ สูตร หลายถัง ก็ทำกันไปด๊าย.. :)      ก็พยายามที่จะทำแปลงผัก ที่สามารถปลูกผักที่ต้องอาศัยค้างได้ เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วพู แตงกวา เป็นต้น คิดแล้วก็ได้รูปแบบออกมาอย่างในรูป โดยอุปกรณ์ที่ใช้ทำจากไม้ไผ่ และบุด้วยถุงกระสอบ จากรูป1. แปลงนี้ กว้าง 42 ซม. ยาว 1.80 ม. สูง 1.95 ม. แปลงนี้ทำใช้เองบนระเบียงไม้ชั้น 2                                  ...